1. ระบบสิทธิของผู้สร้างสรรค์ หรือระบบภาคพื้นยุโรป เน้นความสำคัญที่ผู้สร้างสรรค์งาน หมายความว่า สิทธิในงานนั้นเกิดมาจากการสร้างสรรค์ส่วนบุคคล ซึ่งนอกจากจะมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการเผยแพร่งานนั้นแล้วยังมีสิทธิป้องกันหรือห้ามปรามผู้อื่นไม่ให้บิดเบือนหรือใช้งานของเขาในทางที่ผิด โดยเน้นสิทธิในทางศีลธรรม
2. ระบบสิทธิในการทำสำเนาหรือระบบแองโกล แซกซัน ซึ่งมีแนวความคิดจากประเทศอังกฤษคุ้มครองการลงทุนของผู้ขายหนังสือ เน้นเหตุผลในทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ดังนั้น ใครก็ตามที่ได้สร้างสรรค์งานขึ้นมาและลงทุนไปในการสร้างและขาย ย่อมต้องได้รับความเสี่ยงจากการลงทุนนั้น เข้าผู้นั้นก็ควรมีสิทธิได้รับผลประโยชน์จากงานนั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อได้มีการก่อตั้งสหภาพเบอร์น ได้มีการประสานระบบทั้งสองเข้าด้วยกันโดยนำหลักการในเรื่องสิทธิในทางศีลธรรมของผู้สร้างสรรค์ละสิทธิทางเศรษฐกิจมาใช้ด้วยกันในอนุสัญญาว่าด้วย การคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม
3. ระบบสังคมนิยม เน้นงานที่สร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม ซึ่งต้องเป็นเหตุผลที่รัฐสังคมนิยมจะต้องพิจารณาก่อนว่า งานที่สมควรจะได้รับการเผยแพร่นั้นจะต้องเป็นงานที่รัฐเห็นว่าจะสนองต่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวมมากที่สุดภายใต้การควบคุมของรัฐ